Category: ข้อมูลเผยแพร่

  • เส้นทางตามแผนปฏิรูป ขสมก.

    นอกจากเส้นทางปฏิรูปของขนส่ง 269 เส้นทางแล้ว ในขณะเดียวกัน ขสมก. เองก็ได้มีแผนจะปฏิรูปเส้นทางเดิมของตัวเอง (ซึ่งก็ทับซ้อนอยู่ใน 269 เส้นทางนั้น) เป็นเส้นทางชุดใหม่ 162 เส้นทาง โดย ขสมก. เดินรถ 108 เส้นทาง รวมกับเส้นทางรถเอกชน 54 เส้นทางตามแผนปฏิรูปของขนส่ง แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าเส้นทางอื่น ๆ ใน 269 เส้นทางนั้นจะยังมีต่อไปหรือจบแค่นี้

  • แนวคิดการกำหนดเลขสาย จากงาน “Workshop เรียงเบอร์”

    เมื่อวันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2562 หน่วยงาน TDRI, กรมการขนส่งทางบก ร่วมกับกลุ่ม Mayday ได้จัด Workshop เรียงเบอร์ เพื่อร่วมกันหาแนวทางในการสร้างระบบเลขสายรถเมล์ขึ้นมาเพื่อใช้กับเส้นทางปฏิรูป 269 เส้นทาง ใน Workshop ครั้งนี้ผมได้มีโอกาสเข้าไปร่วมเสนอความคิดเห็นด้วย ซึ่งจะขอแบ่งกล่าวสรุปโดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นความคิดเห็นของกลุ่ม G10 ในงานนี้ และส่วนที่เป็นความเห็นของผมเอง ซึ่งไม่ได้เป็นในแนวทางเดียวกับกลุ่ม แต่ด้วยการนำเสนองานเป็นกลุ่มจึงยึดตามที่เสียงส่วนใหญ่เห็นชอบ ซึ่งในบทความนี้ผมจะนำเสนอรูปแบบกลาง ๆ ที่คิดว่าน่าจะประนีประนอมกับความต้องการที่ให้มีระบบ และวิถีประชาที่อยู่กับเลขสายที่ไม่มีระบบนี้มานาน

  • สรุปเส้นทางใหม่ 269 สาย + 3 เส้นทางที่ถูกจัดเลขสายใหม่ด้วย

    ในที่สุด กรมการขนส่งทางบก ก็ได้ประกาศเส้นทางปฏิรูปชุดใหม่หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่องเสียที โพสต์นี้เป็นสรุปชื่อเส้นทางเทียบเคียงกับสายการเดินรถยุคเลขหลักเดียว – 559 และ 7xx

  • ที่มาของราคาตั๋วรถประจำทางลักษณะพิเศษ (ตั๋วล่วงหน้า) รายวัน/สัปดาห์/เดือน และปี

    นอกจากตั๋วเที่ยวที่เราคุ้นเคย ขสมก. ยังมีจำหน่ายตั๋วรถประจำทางลักษณะพิเศษ (ตั๋วล่วงหน้า) ในรูปแบบตั๋วสัปดาห์/เดือน และในอดีตก็มีตั๋ววันและตั๋วปี ซึ่งตั๋วล่วงหน้านั้นเหมาะสมกับผู้โดยสารที่ต้องเดินทางเชื่อมต่อรถหลาย ๆ เที่ยวในหนึ่งวัน แต่การตั้งราคาตั๋วดังกล่าวนั้นอาจจะยังเป็นสิ่งที่เป็นข้อสงสัยว่าแพงเกินไปหรือไม่ ในบทความนี้เราจะมาแกะสูตรการตั้งราคาดังกล่าว

  • ข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย ตลอดเวลาที่อยู่ในระหว่างการโดยสาร

    รถโดยสารสาธารณะ ถือว่าเป็นจุดที่รวมผู้คนร้อยพ่อพันแม่มาอยู่ร่วมกันในห้วงเวลาหนึ่ง การปฏิบัติตัวของผู้โดยสารแต่ละคนซึ่งได้รับการสั่งสอนกันมาแตกต่างกันนั้นอาจจะทำให้เกิดปัญหานำไปสู่การทะเลาะเบาะแว้งขึ้นมาได้ ทางราชการจึงได้ทำออกข้อกำหนดขึ้นมาบังคับผู้โดยสารรถโดยสารประจำทาง แม้จะเป็นกฎหมายเก่าที่อาจจะมีการหลงลืมไปบ้างแล้ว แต่ก็ยังพอพบเห็นการติดประกาศดังกล่าวบนรถบ้าง จึงขอนำประกาศดังกล่าวมาเผยแพร่อีกครั้ง เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการโดยสารรถประจำทาง

  • อัตราค่าโดยสารรถโดยสารประจำทาง หมวด 1, 4 กรุงเทพมหานคร ประจำปี 2562

    เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2562 เป็นวันแรกที่มีการใช้งานประกาศอัตราค่าโดยสารรถโดยสารประจำทาง อันเนื่องจากการอนุมัติการปรับอัตราค่าโดยสารของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ 10/2561 เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2561 (ซึ่งแต่เดิมให้มีผลบังคับใช้วันที่ 21 มกราคม 2562) การปรับอัตราค่าโดยสารครั้งนี้ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากมายและความสับสน เนื่องจากไม่ได้เป็นการปรับขึ้นราคาในรูปแบบที่คุ้นเคยกัน ผมจะขอสรุปเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้นว่าการปรับอัตราค่าโดยสารครั้งนี้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นบ้าง